แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ได้กำหนดกลยุทธ์หลักในการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง (high-capability workforce) ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและการสร้างงานอนาคต โดยมี 3 กลยุทธ์ย่อยสำคัญ ดังนี้
กลยุทธ์ย่อยที่ 1 พัฒนากําลังคนสมรรถนะสูง สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต เป้าหมาย และสามารถสร้างงานอนาคต โดย
1) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนบูรณาการและเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการศึกษาฝึกอบรม และร่วมจัดการระบบการเรียนรู้ที่เป็นระบบเปิด และเข้าถึงง่าย รวมทั้งพัฒนาและยกระดับระบบรองรับ และ สภาพแวดล้อมที่สามารถดึงดูดและเก็บรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ตามโลกสมัยใหม่ที่ครอบคลุม ทั้งความสามารถในงาน ทักษะในการใช้ชีวิต สมรรถนะดิจิทัลเพื่อการประกอบอาชีพ การดําเนินชีวิตประจําวันและการใช้สิทธิในการเข้าถึงบริการพื้นฐานภาครัฐและสินค้าบริการได้อย่างเท่าทัน การแก้ปัญหา การมีแนวคิดของ ผู้ประกอบการ รวมถึงความสามารถในการบริหารตัวเอง และการบริหารคนเพื่อนําทักษะของสมาชิกทีม ที่หลากหลายมาประสานพลังรวมกัน การปฏิบัติงานได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งกําหนดมาตรการจูงใจ และกลไก การสนับสนุนการฝึกอบรมและร่วมจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และบุคลากรขั้นสูงเพื่อการพัฒนากําลังคนสมรรถนะสูงที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
2) พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการวางแผนและพัฒนากําลังคน ทั้งข้อมูลอุปสงค์ อุปทานของแรงงาน และการเชื่อมโยงกับสมรรถนะตลอดห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่คุณค่าตามรายอุตสาหกรรมของการผลิตและบริการ เป้าหมาย รวมถึงการเชื่อมโยงระบบสมรรถนะกับค่าจ้าง
3) กําหนดมาตรการในการผลิตกําลังคนแบบเร่งด่วน โดยจัดการศึกษารูปแบบจําลองในสาขาที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ อาทิ ด้านปัญญาประดิษฐ์ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล
กลยุทธ์ย่อยที่ 2 เพิ่มกําลังคนที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาภาคการผลิตเป้าหมาย โดย
1) สร้างกลไกระดับชาติเพื่อรวบรวมกําลังคนที่มีสมรรถนะสูง ทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่กําเนิดในประเทศไทย ทั้งในภาครัฐและเอกชนและสนับสนุนให้ได้แสดงศักยภาพและใช้ความสามารถในการทําประโยชน์ให้กับประเทศ มีรูปแบบการทํางานที่เอื้อให้ทํางานข้ามพรมแดนกับสถาบันชั้นนําทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับโลกได้ ให้มีการให้ลาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ มาผสานใช้กับการเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพของแรงงาน ที่มีสมรรถนะสูง ควบคู่กับสร้างวัฒนธรรมการทํางาน วัฒนธรรมองค์กร และสภาพแวดล้อมการทํางานที่เอื้อให้ กําลังคนคุณภาพทํางานหรือแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่และทํางานอย่างมีความสุข
2) ส่งเสริมการนําเข้าผู้เชี่ยวชาญต่างชาติทักษะสูง โดยกําหนดมาตรการจูงใจเพื่อดึงดูด กลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่างชาติให้เข้ามาทํางานด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงการดึงนักศึกษาต่างชาติ ที่จบการศึกษาในไทยให้สามารถอยู่ต่อในประเทศเพื่อพัฒนานวัตกรรม
กลยุทธ์ย่อยที่ 3 สร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะที่มีความสามารถในการสร้าง ออกแบบ และใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดกระบวนการผลิตและบริการ การจัดการและการตลาด โดย
1) การสร้างและพัฒนาทักษะองค์ความรู้รอบด้านที่จําเป็นต่อการประกอบธุรกิจยุคใหม่ โดยการสร้างความเชื่อใหม่ที่ส่งผลต่อการปรับพฤติกรรม ให้ตระหนักรู้ รับรู้องค์ความรู้ใหม่ ฝึกทักษะ สามารถ นําไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการวางแผนธุรกิจ และสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจได้ โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ง่าย กระชับ และรวดเร็ว ตอบสนองการเรียนรู้ที่แตกต่างของแต่ละบุคคลผ่านการเรียนรู้ ในระบบและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ด้วยเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นเรื่องง่าย รวมถึงการสร้างชุมชน
ผู้ประกอบการแบ่งปันการเรียนรู้และแรงบันดาลใจเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
2) ส่งเสริมผู้ประกอบการในการสร้างนวัตกรรม เพื่อต่อยอดสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มของ อุตสาหกรรมในอนาคต โดยการสร้างพื้นที่ให้ผู้ประกอบการได้แข่งขันทดลองความคิด ส่งเสริมการลงทุน สําหรับการสร้างนวัตกรรม การจับคู่ทางธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนด้านเงินทุน
แนวทางพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของไทย เน้นการเชื่อมโยงระบบการศึกษาและตลาดแรงงาน การดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพ และการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการอัจฉริยะ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างยั่งยืน
อ้างอิง : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570)