หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกจากการให้ความสำคัญกับ “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการแล้ว เราควรมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องต่อการลด “ความสูญเปล่าในกระบวนการ” (Waste in Process) ซึ่งกรอบแนวคิดใหญ่ในการลดความสูญเปล่าเรียกว่า MUDA (มูดะ) – การทำงานที่ไม่สร้างและเพิ่มคุณค่าต่อผลิตภัณฑ์ (Value) ดังนั้นการลด MUDA ในกระบวนการมีผลต่อต้นทุนของผลิตภัณฑ์โดยตรง โดยมีตัวเลขทางสถิติน่าสนใจได้กล่าวว่า “ความสูญเปล่าในกระบวนการของอุตสาหกรรมหนึ่งต่อปีมีประมาณ 10% – 35%” ตัวเลขดังกล่าวนับว่าสูงมาก ดังนั้นการบริหารจัดการ MUDA อย่างมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลต่อต้นทุนผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอน
การบริหารด้วยแนวคิด Lean Management เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าให้การไหลของกระบวนการ โดยมีเป้าหมายการกำจัด 3 MU อันได้แก่
- MUDA มูดะ หมายถึง ความสูญเปล่าในกระบวนการ (Waste)
- MURI มูริ หมายถึง การทำงานเกินกำลังของคน เครื่องจักร และอุปกรณ์ (Overburden)
- MURA มูระ หมายถึง ความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นในกระบวนการ (Unevenness)
ความสูญเปล่าในกระบวนการ (Waste in Process) เป็นกรอบแนวคิดใหญ่ของการประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ เพื่อกำจัด MUDA MURI ในกระบวนการ ซึ่งส่งผลต่อกำจัด MURA โดยอัตโนมัติ หรือกล่าวได้ว่าเกิดความราบเรียบขึ้นในกระบวนการ โดยมีเครื่องมือดังนี้
- การพยากรณ์ยอดขายและการวางแผนการผลิตรวม
- (Sale Forecasting and Aggregate Production Planning)
- การกำหนดปริมาณที่เหมาะสมของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ (Inventory & WIP)
- การลดเวลารอคอยด้วยการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดสมดุลสายการผลิต
- (Preventive Maintenance and Production Line Balancing)
- การลดการเคลื่อนไหวด้วยการวิเคราะห์งานเพื่อวางอุปกรณ์ตามหน้าที่และหลักการยศาสตร์ (Functional Storage & Ergonomic)
- การกำจัดกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพด้วย Flow Process Chart & Flow Diagram
- การกำจัดข้อบกพร่องด้วยการดำเนินกิจกรรม OJT และกิจกรรมกล่มคุณภาพ QCC
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการลดความสูญเปล่าในกระบวนการ และสร้างความเข้าใจการบริหารด้วยแนวคิด Lean Management โดยมีเป้าหมายกำจัด 3 MU (MUDA MURA MURI)
- เพื่อให้ผู้เรียนมีเครื่องมือและเทคนิคในการกำจัด MUDA MURA MURI ในกระบวนการ โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การปรับปรุงวิธีการทำงานที่เหมาะสม พร้อมทั้งลดความสูญเสียและความสูญเปล่าต่าง ๆ ในกระบวนการ
เนื้อหาหลักสูตร
Module – 1 พื้นฐานของการสร้างจิตสำนึกการลดความสูญเปล่า
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- การลดโครงสร้างของต้นทุนด้วยแนวคิด 3 MU
- กรณีศึกษา: เพื่อปลูกจิตสำนึกลดความสูญเปล่า
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการลดความสูญเปล่า (Ownership Quotient)
Module – 2 หลักการสำคัญของแนวคิด MUDA MURA MURI
- การบริหารความสูญเปล่าด้วยแนวคิด Lean Management
- เป้าหมายของแนวคิด Lean Management
- การกำจัดความสูญเปล่าในกระบวนการ (Waste – MUDA)
- การกำจัดการทำงานเกินกำลังของระบบ (Overburden – MURI)
- การกำจัดความไม่สม่ำเสมอของกระบวนการ (Unevenness – MURA)
- ความหมายของ MUDA ภายในกระบวนการ
- การวิเคราะห์มูลค่าของ MUDA ด้วยแนวคิดเศรษฐศาสตร์
- MUDA 7 ประเภทในกระบวนการผลิต
- สาเหตุสำคัญของการทำงานเกินกำลังในมิติของ MURI
- MUDA และ MURI สร้างความไม่สม่ำเสมอในกระบวนการ (MURI)
- ความจำเป็นของความสม่ำเสมอในกระบวนการ
- Activity I: ค้นหา MUDA MURA MURI ในกระบวนการ
Module – 3 เครื่องมือและเทคนิคเพื่อกำจัด MUDA MURA MURI ในกระบวนการ
- การพยากรณ์ยอดขายและการวางแผนการผลิตรวม
- (Sale Forecasting and Aggregate Production Planning)
- การกำหนดปริมาณที่เหมาะสมของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ (Inventory & WIP)
- การลดเวลารอคอยด้วยการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดสมดุลสายการผลิต
- (Preventive Maintenance and Production Line Balancing)
- การลดการเคลื่อนไหวด้วยการวิเคราะห์งานเพื่อวางอุปกรณ์ตามหน้าที่และหลักการยศาสตร์
- (Functional Storage & Ergonomic)
- การกำจัดกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพด้วย Flow Process Chart & Flow Diagram
- การกำจัดข้อบกพร่องด้วยการดำเนินกิจกรรม OJT และกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC
- Activity II: การกำจัด MUDA MURA MURI ด้วยการวิเคราะห์การไหลของงาน
Module – 4 การค้นหาและลดความสูญเปล่าอย่างยั่งยืน
- หัวใจสำคัญของการลด MUDA MURA MURI
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”