หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จได้ต้องเกิดจากบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่องค์การปัจจุบันควรกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้นำระดับต้นและระดับกลางเปรียบได้กับ “หัวหน้างาน” ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ดังนั้นถ้าหัวหน้างานมีทักษะหรือความสามารถในการบริหารปกครองลูกน้องเพิ่มขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของทีมงาน
การพัฒนาทักษะที่จำเป็นของหัวหน้างานนั้น องค์กรควรให้ความสำคัญ และหัวหน้างานควรตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว อันจะส่งผลให้ตนเองได้รับ “ความน่าเชื่อถือ” หรือ “ความศรัทธา” จากผู้ใต้บังคับบัญชา โดยภาระความสำคัญดังกล่าวเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- หัวหน้างานเป็นผู้รับมอบหมายงานและนโยบายจากฝ่ายบริหารไปสู่การปฏิบัติให้สำเร็จ ดังนั้นหัวหน้างานจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของบริษัท
- หัวหน้างานเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับทีมงาน ดังนั้นหัวหน้างานจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของลูกน้อง
- หัวหน้างานเป็นผู้เกี่ยวข้องกับบุคลากรหลายฝ่ายและหลายระดับ (ประสานงาน 360 องศา) ดังนั้นหัวหน้างานจึงสร้างผลกระทบในการทำงานได้ในวงกว้างมากกว่าระดับปฏิบัติการ
- หัวหน้างานเป็นผู้ที่ลูกน้องมองเป็นตัวอย่างในแบบอย่างและพฤติกรรมต่าง ๆ
- หัวหน้างานเป็นผู้ขับเคลื่อนการทำงานให้ก้าวหน้าผ่านการมอบหมายงานและบริหารทีมงาน
- หัวหน้างานเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาลูกน้องให้มีผลการปฏิบัติงานสูงขึ้น
ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรให้เป็น “หัวหน้างาน” โดยเบื้องต้นต้องเป็นผู้ที่มีทักษะหรือความชำนาญในสายงานที่รับผิดชอบ แต่มีแนวโน้มขาดทักษะสำคัญอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารทีมงานให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น ควรมีดังนี้
- ทักษะในการแก้ปัญหา (ความชำนาญในงาน)
- ทักษะในการสอนงานหรือพัฒนาผู้อื่น
- ทักษะในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
- ทักษะในการสร้างกลุ่มทำงานที่มีประสิทธิผล
- ทักษะในการสื่อสารสร้างพลังงานเชิงบวก
- ทักษะในการวางแผนและมอบหมายงาน
- ทักษะในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของตำแหน่งหัวหน้างาน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความสำเร็จขององค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบของหัวหน้างาน และเรียนรู้พฤติกรรมที่มีผลต่อการสร้างความน่าเชื่อถือในตัวหัวหน้างาน (กรณีศึกษา)
- เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการ ทักษะ และคุณลักษณะสำคัญของการนำผู้อื่นในฐานะหัวหน้างาน
- เพื่อให้ผู้เรียนมีหลักการและแนวทางในการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ โดยเรียนรู้จาก 4 – Dimensional Leadership Development Model (4 มิติของการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ)
เนื้อหาหลักสูตร
Module 1 – พื้นฐานการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของหัวหน้างาน
- หัวหน้าแบบ “ตำแหน่ง” กับหัวหน้าแบบ “ผู้นำ
- “ความน่าเชื่อถือ” หรือ “ความศรัทธา” กุญแจของผู้นำ
- หลักการสำคัญ 2 ประการของการสร้าง “ความน่าเชื่อถือ”
- ความหมายของภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
- 4 – Dimensional Leadership Development Model
Module 2 – การพัฒนาความสามารถในการนำตนเองก่อนนำผู้อื่น
- ความสามารถในการนำตนเอง (Leading yourself)
- ข้อคิด 5 ประการของการสร้างความเชื่อมั่น
- ตัวอย่างเรียนรู้ของความสามารถในการนำตนเอง
- ตัวอย่างพฤติกรรมที่ทำลาย “ความน่าเชื่อถือ” ของผู้นำ
- Workshop I: การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ
- บทสรุปของการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ
Module 3 – การพัฒนาทักษะที่จำเป็นของหัวหน้างาน
- กรอบของการพัฒนาทักษะของหัวหน้างาน
- กรณีศึกษา: ความสำคัญของการพัฒนาทักษะหัวหน้างาน
- ทักษะในการแก้ปัญหา (ความชำนาญในงาน)
- ทักษะในการสอนงานหรือพัฒนาผู้อื่น
- ทักษะในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานทุกระดับ
- ทักษะในการสร้างกลุ่มทำงานที่มีประสิทธิผล
- ทักษะในการสื่อสารสร้างพลังงานเชิงบวก
- ทักษะในการวางแผนและมอบหมายงาน
- ทักษะในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- Workshop II-III: การพัฒนาทักษะของหัวหน้างานระดับต้น
Module 4 – กฎเหล็กแห่งการพัฒนาทักษะของหัวหน้างาน
- กฎแห่งการสะสม (The Law of Process)
- กฎแห่งการฝึกฝน (The Law of Practice)
Module 5 – การพัฒนาทักษะของหัวหน้างานอย่างยั่งยืน
- เรียนรู้ธรรมชาติของการพัฒนาภาวะผู้นำ
- เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาภาวะผู้นำ