หลักการและเหตุผล
การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทำไม – ทำไม (Why – Why Analysis) คือ “การวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริง (Root Cause) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือปรากฏการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น (Effect) ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน โดยไม่เกิดสภาพการณ์ตกหล่นและซ้ำซ้อน และไม่จินตนาการเอง” ดังนั้น Why – Why Analysis เปรียบเสมือนการมองเห็น “ผลกระทบ” และ “สาเหตุ” ในบางประเด็น แต่ยังไม่ด่วนสรุปทันทีว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่พยายามค้นหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและสอดคล้องเพื่อค้นหาว่า “สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร”
ปัญหาต่าง ๆ ของการทำงานในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะในกระบวนการทำงานภายในโรงงาน (Process in Factory) ซึ่งทักษะการวิเคราะห์ปัญหาด้วย Why – Why Analysis เป็นพื้นฐานสำคัญและมีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหาในกระบวนการดังกล่าวมาก การพัฒนาทักษะดังกล่าวส่งผลให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความเป็นระบบ มีขั้นตอนและมีเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ จึงนับว่าการพัฒนาทักษะดังกล่าวเป็น “การป้องกันการแก้ปัญหาแบบไม่สมเหตุผล” ที่เกิดจากการนึกคิดเองของผู้ปฏิบัติงานไปด้วยในตัว
การวิเคราะห์ปัญหาด้วย Why – Why Analysis ให้เกิดประสิทธิภาพต้องประกอบไปด้วยเทคนิคและข้อกำหนด 10 ประการที่ต้องพิจารณาดังนี้
- ข้อกำหนดที่ 1: ความชัดเจนกับปัญหา (Specification) และไม่เป็นนามธรรม
- ข้อกำหนดที่ 2: การวิเคราะห์ต้องดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง (3G)
- ข้อกำหนดที่ 3: ต้องระวังรากสาเหตุเทียมหรือไม่สมเหตุสมผล
- ข้อกำหนดที่ 4: ต้องพิจารณาปัญหา (สาเหตุ) ให้รอบด้าน
- ข้อกำหนดที่ 5: หลีกเลี่ยงสาเหตุจากสภาพจิตใจ (Emotional Cause)
- ข้อกำหนดที่ 6: รากสาเหตุต้องนำมากำหนดเป็นมาตรการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ
- ข้อกำหนดที่ 7: ไม่นิยมนำมาตรการแก้ปัญหามากำหนดเป็นรากสาเหตุ
- ข้อกำหนดที่ 8: ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ด้วย MECE Technique
- ข้อกำหนดที่ 9: พิจารณาว่าสาเหตุใดควรเป็นรากสาเหตุสุดท้าย
- ข้อกำหนดที่ 10: คำนึงถึงเป้าหมายสำคัญของการวิเคราะห์
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการวิเคราะห์ Why – Why Analysis อย่างเป็นระบบ โดยเรียนรู้จากโมเดลการวิเคราะห์ปัญหา (Why – Why Analysis Model)
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วย Why – Why Analysis ด้วยการใช้เทคนิคและข้อกำหนดที่จำเป็น 10 ประการ ผ่านการเรียนรู้ด้วยปัญหาจริงของผู้เรียน
เนื้อหาหลักสูตร
Module 1 – พื้นฐานความเข้าใจของการวิเคราะห์ปัญหา
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- โมเดลการวิเคราะห์ปัญหา (Why – Why Analysis Model)
- หลักสำคัญของการวิเคราะห์รากสาเหตุ
- ความสัมพันธ์ของสาเหตุกับผลกระทบ (Cause & Effect)
- ความมีเหตุผล (Reasonableness)
- ความหมายของการวิเคราะห์ด้วย Why – Why Analysis
- ความเหมือนและความต่างของ Why – Why & Cause and Effect Diagram
Module 2 – การกำหนดปัญหาและระดับของปัญหา
- ความหมายและประเภทของปัญหา (Sporadic & Chronic Problem)
- ปัญหาการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจระดับนโยบาย
- ปัญหาระดับการจัดการปัญหารายวัน
- Activity I: ค้นหาปัญหาคุณภาพในกระบวนการ
Module 3 – เทคนิคและข้อกำหนดในการทำ Why – Why Analysis
- ข้อกำหนดที่ 1: ความชัดเจนกับปัญหา (Specification) และไม่เป็นนามธรรม
- ข้อกำหนดที่ 2: การวิเคราะห์ต้องดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง (3G)
- ข้อกำหนดที่ 3: ต้องระวังรากสาเหตุเทียมหรือไม่สมเหตุสมผล
- ข้อกำหนดที่ 4: ต้องพิจารณาปัญหา (สาเหตุ) ให้รอบด้าน
- ข้อกำหนดที่ 5: หลีกเลี่ยงสาเหตุจากสภาพจิตใจ (Emotional Cause)
- ข้อกำหนดที่ 6: รากสาเหตุต้องนำมากำหนดเป็นมาตรการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ
- ข้อกำหนดที่ 7: ไม่นิยมนำมาตรการแก้ปัญหามากำหนดเป็นรากสาเหตุ
- ข้อกำหนดที่ 8: ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ด้วย MECE Technique
- ข้อกำหนดที่ 9: พิจารณาว่าสาเหตุใดควรเป็นรากสาเหตุสุดท้าย
- ข้อกำหนดที่ 10: คำนึงถึงเป้าหมายสำคัญของการวิเคราะห์
- Activity II: การวิเคราะห์ Why – Why Analysis ของผู้เรียน
Module 4 – เครื่องมือกำหนดวิธีการแก้ปัญหาหลังการทำ Why – Why Analysis
- แผนผังต้นไม้ประเภท How – How Diagram
- Activity III: การกำหนดวิธีแก้ปัญหาหลังการทำ Activity II
Module 5 – การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
- การเลือกปัญหาในกระบวนการ
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”