หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจแข่งขันกันมากขึ้น และต้นทุนในการดำเนินธุรกิจมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มราคาสินค้าคงไม่ใช่แนวคิดที่ดีของการรักษาส่วนแบ่งกำไรให้คงอยู่ระดับเดิม องค์กรควรมีแนวคิดของการปรับปรุงการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในแง่ของ “การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต และการกำจัดความสูญเสีย (ความสูญเปล่า) ต่าง ๆ ในการทำงาน” ดังนั้นการสร้างและการบริหารกิจกรรม 5ส ให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ จึงเป็นพื้นฐานที่องค์กรควรให้ความสำคัญ
การเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นมีเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายให้เลือกใช้ แต่จุดเริ่มต้นหรือเครื่องมือพื้นฐานที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ กิจกรรม 5ส ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์ดังนี้
- การแยกสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากสิ่งจำเป็นในการปฏิบัติงาน
- ความสะดวกในการปฏิบัติงาน
- ความสะอาดในการปฏิบัติงาน
- ความมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
- ความมีวินัยในการปฏิบัติงาน
การให้ความสำคัญของการทำกิจกรรมพื้นฐาน 5ส เป็นสิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ เนื่องจากถ้าองค์กรไม่เริ่มตรงจุดนี้ เป็นการยากมากในการค้นหาปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำขึ้นมาปรับปรุงและแก้ไข ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิต
หลายๆ องค์กรไม่ประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรม 5 ส ในเชิงปฏิบัตินั้น โดยสาเหตุหลักเกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดดังนี้
- ความเข้าใจผิดคิดว่าการทำ 5ส เป็นกิจกรรมที่ต่างคนต่างทำ
- ความเข้าใจผิดคิดว่าหลักการ 5ส เป็นเรื่องง่าย และมองว่ากิจกรรม 5ส เป็นเรื่องเล็กน้อย
- ขาดองค์ความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการสร้างและบริหารกิจกรรม 5ส
- ไม่เห็นความสำคัญและผลลัพธ์ที่จะตามมาของการทำกิจกรรม 5ส
- การให้ความสำคัญกับ “บุคลากร” ที่หน้างานน้อยเกินไป
การพัฒนาทักษะและบริหารกิจกรรม 5ส จนเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องร่วมกัน มองเห็นเป้าหมายร่วมกัน เกิดการทำงานเป็นทีม ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน สามารถขจัดความสูญเปล่าต่าง ๆ ในการทำงานให้ลดน้อยลง เป็นพื้นฐานต่อไปของการปรับปรุงงานตามวิถีไคเซ็น (Kaizen)
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของการทำ 5ส อย่างถูกต้อง และเห็นความสำคัญของกิจกรรม 5ส ซึ่งสามารถกำจัดความสูญเสียและความสูญเปล่าต่าง ๆ ในการทำงาน สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
- เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ (วางแผน) 5ส ในพื้นที่ปฏิบัติงานของตนเอง นำไปสู่การสร้างมาตรฐานปฏิบัติงาน 5ส ของแต่ละพื้นที่ทำงาน
เนื้อหาหลักสูตร
Module 1 – พื้นฐานของแนวคิดที่ถูกต้องของการทำ 5ส
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนเรียนรู้
- แบบทดสอบพฤติกรรมการปฏิบัติงานกับกิจกรรม 5ส
- ความหมายพอสังเขปของ 5 ส
- แนวคิดการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- กรณีศึกษา: เพื่อสร้างจิตสำนึกในการทำ 5ส
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับกิจกรรม 5ส (Ownership Quotient)
- เป้าหมายของการทำกิจกรรม 5ส
Module 2 – ประเด็นสำคัญของ 5ส และแนวทางการสร้างอย่างเป็นรูปธรรม
- ส1 – สะสาง (Seiri – เซริ)
- ความหมายของ ส.สะสาง และ Organization & Clearing Up
- การตีความหมายผิดพลาดของ ส.สะสาง
- แนวคิดของการจัดระบบกับ ส.สะสาง
- ตัวอย่างของแผนผังความสัมพันธ์ (Relation Diagram)
- การจัดระบบกับการกำหนดความสัมพันธ์ (คน งาน อุปกรณ์ และพื้นที่ปฏิบัติงาน)
- แบบฟอร์มวัสดุอุปกรณ์ (List Material & Equipment)
- ความถี่ของการใช้งานและวิธีการจัดเก็บ
- Activity I: กิจกรรมสะสางพื้นที่ปฏิบัติงาน
- ส2 – สะดวก (Seiton – เซตง)
- ความหมายของ ส.สะดวก และ Functional Storage
- การตีความหมายที่ผิดพลาดของ ส.สะดวก
- เป้าหมายของการทำ ส สะดวก
- แนวทางการสร้างมาตรฐาน ส.สะดวก
- Activity II: กิจกรรมสร้างสะดวกในพื้นที่ปฏิบัติงาน
- ส3 – สะอาด (Seiso – เซโซ)
- ความหมายของ ส.สะอาด และ Cleanliness & Cleaning is Inspection
- การตีความหมายผิดพลาดของ ส.สะอาด
- การสร้าง 3 มาตรฐานของ ส.สะอาด
- Activity III: กิจกรรมสร้างสร้างมาตรฐานของพื้นที่ปฏิบัติงาน
- ส4 – สร้างมาตรฐาน / สุขลักษณะ (Seiketsu – เซเกทสึ)
- ความหมายของ ส.สุขลักษณะ และ Standardization
- ความหมายผิดพลาดของ ส.สุขลักษณะ
- มาตรฐานส่วนกลางและมาตรฐานพื้นที่ปฏิบัติงาน
- ระบบป้องกันความผิดพลาดและระบบความคุมด้วยสายตา (Poka Yoke & Visual Control)
- ส5 – สร้างนิสัย (Shitsuke – ชิทสึเกะ)
- ความหมายของ ส.สร้างนิสัย
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยทฤษฎี “ICEBERG”
- ความรู้ไม่ใช่ความเข้าใจ (ทฤษฎี “Knowledge is not Understanding)
Module 3 – การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
- แนวคิดไคเซ็น (Kaizen) กับกิจกรรม 5ส
- วงจร PDCA กับกิจกรรม 5