หลักการและเหตุผล
ปัจจัยสำคัญในการผลิตงานเพื่อให้มีคุณภาพ ส่งมอบได้ทันเวลา และมีต้นทุนที่ต่ำ คือ การที่เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง และเต็มประสิทธิภาพ โดยไม่มีการผิดพลาด หรือเกิดปัญหาเครื่องเสีย แต่การบริหารประสิทธิผลของเครื่องจักรมักมีอุปสรรคที่ความเข้าใจ ความร่วมมือ ความตระหนัก การปฏิบัติงาน และการประสานงาน ของฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายผลิต และฝ่ายซ่อมบำรุง หรือแม้แต่ฝ่ายสนับสนุน จนกระทั่งมีการพัฒนาเทคนิคและแนวคิดการบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ AM (Autonomous Maintenance) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้อุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นสามารถพัฒนาและยกระดับไปสู่การผลิตระดับโลก (World Class Manufacturing) และยกระดับการแข่งขันของสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นกับคู่แข่งระดับโลกได้
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ AM (Autonomous Maintenance) จึงได้ออกแบบหลักสูตรที่ทำให้ผู้ฝึกอบรมได้เห็นภาพของการทำกิจกรรมนี้ ผ่านทางเนื้อหา ตัวอย่าง และกิจกรรมที่ออกแบบให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนในแต่ละขั้นตอนของการทำกิจกรรม AM
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของการบำรุงรักษาและขั้นตอนการบำรุงรักษาทวีผล
- เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงรักษาที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการผลิต
- สามารถวางแผนและดำเนินการ AM ได้อย่างเป็นขั้นตอน
- เพื่อให้ทราบถึงวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง
- เพื่อเสริมสร้างทักษะจากกรณีศึกษาจากโรงงานตัวอย่าง
เนื้อหาหลักสูตร
- บทบาท พื้นฐานของการบำรุงรักษา
- พฤติกรรมการขัดข้องของเครื่องจักร
- แนวคิดของ AM
- องค์ประกอบและขั้นตอนหลักของ AM
- ความสูญเสียหลักของเครื่องจักร (6 Big Losses)
- การวัดประสิทธิผลของ AM (OEE)
- แนวทางการกำจัดความสูญเสียประเภทต่างๆ
- Autonomous Maintenance